วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ตำแหน่งหน้าที่ในโรงเรียน

1.  หัวหน้างานบริหารทั่วไป
2.  หัวหน้ากลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
3.  หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนช่วงชั้นที่  2
4.  ผู้กำกับลูกเสือ

แข่งขันทักษะวิชาการ




เข้าค่ายลูกเสือที่ค่ายจิระนนท์






สวัสดีปีใหม่ 2554




ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม




วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัว



นายอุทัย  ลาดนาเลา  นักศึกษาปริญญาโท  รุ่นที่ 2
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  รหัสนักศึกษา  535315107
e-mail : kruoutai@gmail.com
biogger : kruoutai.blogspot.com
ที่อยู่ : 100  ม.8  ต.สะแก  อ.สตึก  จ.บุรีรัมย์  31150

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เครื่องสกัดน้ำมันงา

รศ.ดร.มงคล กวางวโรภาส สังกัด ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ออกแบบและสร้างเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็น (รูปที่ 1) โดยใช้กำลังจากระบบไฮดรอลิก ต้นกำลังประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1.5 กิโลวัตต์ ขับปั๊มไฮโดรอลิกให้ส่งน้ำมันออกมาในอัตรา 3.7 ลิตรต่อนาที ด้วยความดันใช้งาน 150 บาร์ จำกัดความดันสูงสุดด้วยวาล์วผ่อนคลายความดัน น้ำมันจะถูกส่งผ่านวาล์วควบคุมทิศทางเข้าสู่กระบอกไฮดรอลิก            

           ชุดอุปกรณ์ของการสกัดประกอบด้วยกระบอกโลหะเจาะรูขนาด 2 มิลลิเมตรโดยรอบ บรรจุงาได้สูงสุดครั้งละ 2.5 กิโลกรัม ด้านล่างมีถาดรองรับน้ำมัน ด้านบนมีชุดฝาอัดยึดติดส่วนบนของเสาหลักของเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็นทำหน้าที่บีบอัดงาในกระบอกด้วยแรงดัน น้ำมันงาจะไหลออกจากรูรอบกระบอกลงสู่ถาดรองรับด้านล่าง ปริมาณน้ำมันงาที่ได้ คือ 800 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อชั่วโมง คิดเป็น 30-35 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ในการสกัดแต่ละครั้งจะเปิดสวิทช์ควบคุมให้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานเป็นบางจังหวะ เพื่อรักษาความดันน้ำมันไฮดรอลิกในวงจรให้อยู่ระหว่าง 100-150 บาร์
           น้ำมันงาที่สกัดได้จากเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็นสำหรับวิสาหกิจชุมชนนี้ เป็นน้ำมันงาที่มีคุณภาพสูง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดไลโอเลอิก อยู่ครบถ้วน ไม่ถูกทำลายเหมือนน้ำมันงาที่สกัดด้วยวิธีทางความร้อนหรือด้วยวิธีการทางเคมี รวมทั้งไม่มีเศษชิ้นส่วนของเมล็ดงา ปะปนเหมือนการสกัดด้วยวิธีการใช้เกลียวอัด (screw press) น้ำมันงาที่สกัดได้จึงมีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของลูกค้าและเหมาะกับการใช้งานทุกประเภท เครื่องสกัดดังกล่าวมีกลไกการทำงานที่ไม่ซับซ้อน
จึงเหมาะกับการใช้งานในวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อย

ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม โปรแกรมเครื่องจักรกลเพื่อการเกษตรและอาหาร โทร.02 564 6700 ต่อ 3420, 3445 (ไชยันต์) e-mail : chaiyan@nstda.or.thchaiyan@nstda.or.th