วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัว



นายอุทัย  ลาดนาเลา  นักศึกษาปริญญาโท  รุ่นที่ 2
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  รหัสนักศึกษา  535315107
e-mail : kruoutai@gmail.com
biogger : kruoutai.blogspot.com
ที่อยู่ : 100  ม.8  ต.สะแก  อ.สตึก  จ.บุรีรัมย์  31150

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เครื่องสกัดน้ำมันงา

รศ.ดร.มงคล กวางวโรภาส สังกัด ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ออกแบบและสร้างเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็น (รูปที่ 1) โดยใช้กำลังจากระบบไฮดรอลิก ต้นกำลังประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1.5 กิโลวัตต์ ขับปั๊มไฮโดรอลิกให้ส่งน้ำมันออกมาในอัตรา 3.7 ลิตรต่อนาที ด้วยความดันใช้งาน 150 บาร์ จำกัดความดันสูงสุดด้วยวาล์วผ่อนคลายความดัน น้ำมันจะถูกส่งผ่านวาล์วควบคุมทิศทางเข้าสู่กระบอกไฮดรอลิก            

           ชุดอุปกรณ์ของการสกัดประกอบด้วยกระบอกโลหะเจาะรูขนาด 2 มิลลิเมตรโดยรอบ บรรจุงาได้สูงสุดครั้งละ 2.5 กิโลกรัม ด้านล่างมีถาดรองรับน้ำมัน ด้านบนมีชุดฝาอัดยึดติดส่วนบนของเสาหลักของเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็นทำหน้าที่บีบอัดงาในกระบอกด้วยแรงดัน น้ำมันงาจะไหลออกจากรูรอบกระบอกลงสู่ถาดรองรับด้านล่าง ปริมาณน้ำมันงาที่ได้ คือ 800 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อชั่วโมง คิดเป็น 30-35 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ในการสกัดแต่ละครั้งจะเปิดสวิทช์ควบคุมให้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานเป็นบางจังหวะ เพื่อรักษาความดันน้ำมันไฮดรอลิกในวงจรให้อยู่ระหว่าง 100-150 บาร์
           น้ำมันงาที่สกัดได้จากเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็นสำหรับวิสาหกิจชุมชนนี้ เป็นน้ำมันงาที่มีคุณภาพสูง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดไลโอเลอิก อยู่ครบถ้วน ไม่ถูกทำลายเหมือนน้ำมันงาที่สกัดด้วยวิธีทางความร้อนหรือด้วยวิธีการทางเคมี รวมทั้งไม่มีเศษชิ้นส่วนของเมล็ดงา ปะปนเหมือนการสกัดด้วยวิธีการใช้เกลียวอัด (screw press) น้ำมันงาที่สกัดได้จึงมีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของลูกค้าและเหมาะกับการใช้งานทุกประเภท เครื่องสกัดดังกล่าวมีกลไกการทำงานที่ไม่ซับซ้อน
จึงเหมาะกับการใช้งานในวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อย

ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม โปรแกรมเครื่องจักรกลเพื่อการเกษตรและอาหาร โทร.02 564 6700 ต่อ 3420, 3445 (ไชยันต์) e-mail : chaiyan@nstda.or.thchaiyan@nstda.or.th

การพูด จาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/pechburi/marina_wisan/work3.html

 การพูด (Speaking)
             การพูด  มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก  ไม่ว่าจะอยู่  ณ  ที่ใด    ประกอบกิจการงานใด  หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด  ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ  จึงมักพบว่า  ผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระการงาน   การคบหาสมาคมกับผู้อื่น  ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม    ล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้นส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอนและฝึกได้  อาจกล่าวได้ว่า  การพูดเป็น   " ศาสตร ์"  มีหลักการ และกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ถึงขั้นเป็นที่พอใจอีกส่วนหนึ่งเป็นความสารถพิเศษหรือศิลปะเฉพาะตัวของผู้พูดแต่ละบุคคล  บางคนมีความสามารถที่จะตรึงผู้ฟังให้นิ่งอยู่กับที่จิตใจจดจ่ออยู่กับการฟังเรื่องที่พูด  ผู้พูดบางคนสามารถพูดให้คนฟังหัวเราะได้ตลอดเวลา  ศิลปะเฉพาะตัวนี้
            เป็นสิ่งที่ลอกเลียนกันได้ยาก  แต่อาจพัฒนาขึ้นได้ในแต่ละบุคคล  ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตวิธีการที่ดีและมีโอกาสฝึกฝน
                                ประเภทของการพูด   แบ่งได้  2  ประเภท  คือ
                        1.  การพูดระหว่างบุคคล  ได้แก่
      •     การทักทายปราศัย  ลักษณะการทักทายปราศัยที่ดีดังนี้
        • หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย
        • กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น สวัสดีครับ  สวัสดีค่ะ
        • แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร
        • ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ
      •  การแนะนำตนเอง  การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ  ต้องบอกชื่อ   นามสกุล  บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว
      •  การสนทนา   หมายถึง  การพูดคุยกัน  พูดจาเพื่อนสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์   การรับสารที่ง่ายที่สุ  ด    คือ  การสนทนา    
        •  คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี  คือ
          • หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
          • ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย  ๆ  สุภาพ  คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา                                                     
                           2. การพูดในกลุ่ม                                              การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม  แสดงความคิดเห็น  หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน  มีวิธีการดังต่อไปนี้
          •  เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ  ว่ามีอะไรบ้าง
          • ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย
          • น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ   
          • ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม
          • ผู้เล่าเรื่อควรจำเรื่องไดเป็นอย่างดี
          • มีการสรุปข้อคิดในตอนท้าย  
                 การพูด  มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก  ไม่ว่าจะอยู่  ณ  ที่ใด    ประกอบกิจการงานใด  หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด  ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ  จึงมักพบว่า  ผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระการงาน   การคบหาสมาคมกับผู้อื่น  ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม    ล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้นส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอนและฝึกได้  อาจกล่าวได้ว่า  การพูดเป็น   " ศาสตร ์"  มีหลักการ และกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ถึงขั้นเป็นที่พอใจอีกส่วนหนึ่งเป็นความสารถพิเศษหรือศิลปะเฉพาะตัวของผู้พูดแต่ละบุคคล  บางคนมีความสามารถที่จะตรึงผู้ฟังให้นิ่งอยู่กับที่จิตใจจดจ่ออยู่กับการฟังเรื่องที่พูด  ผู้พูดบางคนสามารถพูดให้คนฟังหัวเราะได้ตลอดเวลา  ศิลปะเฉพาะตัวนี้
                เป็นสิ่งที่ลอกเลียนกันได้ยาก  แต่อาจพัฒนาขึ้นได้ในแต่ละบุคคล  ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตวิธีการที่ดีและมีโอกาสฝึกฝน
                                    ประเภทของการพูด   แบ่งได้  2  ประเภท  คือ
                            1.  การพูดระหว่างบุคคล  ได้แก่
        •     การทักทายปราศัย  ลักษณะการทักทายปราศัยที่ดีดังนี้
          • หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย
          • กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น สวัสดีครับ  สวัสดีค่ะ
          • แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร
          • ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ
        •  การแนะนำตนเอง  การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ  ต้องบอกชื่อ   นามสกุล  บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว
        •  การสนทนา   หมายถึง  การพูดคุยกัน  พูดจาเพื่อนสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์   การรับสารที่ง่ายที่สุ  ด    คือ  การสนทนา    
          •  คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี  คือ
            • หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
            • ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย  ๆ  สุภาพ  คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา                                                     
                             2. การพูดในกลุ่ม                                              การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม  แสดงความคิดเห็น  หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน  มีวิธีการดังต่อไปนี้
            •  เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ  ว่ามีอะไรบ้าง
            • ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย
            • น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ   
            • ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม
            • ผู้เล่าเรื่อควรจำเรื่องไดเป็นอย่างดี
            • มีการสรุปข้อคิดในตอนท้าย

      ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จาก http://www.school.net.th/schoolnet/directory/elearning.php


      หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
      o รับข้อมูล เป็นส่วนรับคำสั่งจากผู้ใช้เข้าไปในเครื่อง

      โดยผ่านอุปกรณ์ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น
      o ประมวลผล จะนำคำสั่งที่รับมาจากส่วนรับข้อมูลไปปฏิบัติ
      โดยหน่วยประมวลผลมีชื่อ เรียกว่า ซีพียู
      o แสดงผล เป็นส่วนที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้ใช้
      อุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่นี้ ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เป็นต้น

      ส่วนประกอบภายในของคอมพิวเตอร์
      ภายในตัวเครื่อง หรือที่เรียกว่า เคส ( Case ) จะประกอบด้วย
      o หม้อแปลงไฟฟ้า ( Power Supply ) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้า
      กระแสสลับเป็น ไฟฟ้ากระแสตรง โดยมีพัดลมเพื่อระบายความร้อนในเครื่อง
      o เมนบอร์ด ( Mainboard ) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลัก
      ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายใน
      เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ การ์ดต่างๆ
      o หน่วยประมวลผลกลาง เรียกว่า ซีพียู ( CPU : Central Processing Unit )
      หรือ เรียกว่า โปรเซสเซอร์ ( Processor ) เปรียบเสมือน
      สมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล และควบคุม
      การโอนย้ายข้อมูล ระหว่างส่วนต่างๆ ในเครื่อง
      o หน่วยความจำ หรือที่เรียกว่า แรม ( RAM : Random Access Memory )
      เป็นแหล่งเก็บข้อมูลชั่วคราวที่ถูกนำมาใช้ในการประมวลผล
      o การ์ด ( Card ) เป็นแผลวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ขยาย
      ความสามารถของคอมพิวเตอร์ เช่น การ์ดแสดงผล หรือ Video Card
      ทำหน้าที่นำข้อมูลไปแสดงผลออกทางจอภาพ
      o ฮาร์ดดิสก์ ( Harddisk ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ
      ที่เราต้องการเก็บไว้ โดยขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์
      จะถูกวัดเป็นหน่วยไบต์ เช่น 1 เมกะไบต์
      o เครื่องอ่านเขียนแผ่นดิสก์ ( Floppy Disk Drive )
      ใช้สำหรับอ่านแผ่นดิสก์ ที่สามารถบรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์
      o เครื่องอ่านแผ่นซีดี ( CD - ROM Drive ) ใช้อ่านแผ่น
      ซีดีรอม โดย ซีดีรอม หนึ่งแผ่น สามารถบรรจุข้อมูลได้ 700 เมกะไบต์

      วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

      นวัตกรรมทางการศึกษา


      นวัตกรรมทางการศึกษา  "เพื่อเป็นผลงานทางวิชาการสำหรับครู"
                   นวัตกรรม  หมายถึง  เครื่องมือ  สื่อ  หรือ วิธีการใหม่ๆ  ที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ในทางที่ดีมีคุณภาพ  และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น  ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่  หรือ  ดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น  และนำมาใช้อีก  ก็ถือว่าเป็น "นวัตกรรม"  
                  นวัตกรรมแบบทางการศึกษา  หมายถึง  เครื่องมือ  สื่อ  แนวคิด  วิธีการกระบวนการ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
                ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษา  ตามลักษณะผู้ใช้ประโยชน์จำแนกได้ดังนี้ 

      ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับครูประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับนักเรียน
      - คู่มือครู
      - เอกสารประกอบการสอน
      - ชุดการการสอน
      - สื่อประสมชนิดต่างๆ
      - หนังสืออ้างอิง
      - เครื่องมือวัดผลประเมินผล
      - อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
      - โครงการ
      - วิจัยในชั้นเรียน
      - การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
      - วิธีสอนแบบต่างๆ
                            ฯลฯ
      -  บทเรียนสำเร็จรูป
      - เอกสารประกอบการเรียน
      - ชุดฝึกปฏิบัติ
      - ใบงาน
      - หนังสือเสริมประสบการณ์
      - ชุดเพลง
      - ชุดเกม
      - โครงงาน
                                                    ฯลฯ