วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เครื่องสกัดน้ำมันงา

รศ.ดร.มงคล กวางวโรภาส สังกัด ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ออกแบบและสร้างเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็น (รูปที่ 1) โดยใช้กำลังจากระบบไฮดรอลิก ต้นกำลังประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1.5 กิโลวัตต์ ขับปั๊มไฮโดรอลิกให้ส่งน้ำมันออกมาในอัตรา 3.7 ลิตรต่อนาที ด้วยความดันใช้งาน 150 บาร์ จำกัดความดันสูงสุดด้วยวาล์วผ่อนคลายความดัน น้ำมันจะถูกส่งผ่านวาล์วควบคุมทิศทางเข้าสู่กระบอกไฮดรอลิก            

           ชุดอุปกรณ์ของการสกัดประกอบด้วยกระบอกโลหะเจาะรูขนาด 2 มิลลิเมตรโดยรอบ บรรจุงาได้สูงสุดครั้งละ 2.5 กิโลกรัม ด้านล่างมีถาดรองรับน้ำมัน ด้านบนมีชุดฝาอัดยึดติดส่วนบนของเสาหลักของเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็นทำหน้าที่บีบอัดงาในกระบอกด้วยแรงดัน น้ำมันงาจะไหลออกจากรูรอบกระบอกลงสู่ถาดรองรับด้านล่าง ปริมาณน้ำมันงาที่ได้ คือ 800 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อชั่วโมง คิดเป็น 30-35 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ในการสกัดแต่ละครั้งจะเปิดสวิทช์ควบคุมให้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานเป็นบางจังหวะ เพื่อรักษาความดันน้ำมันไฮดรอลิกในวงจรให้อยู่ระหว่าง 100-150 บาร์
           น้ำมันงาที่สกัดได้จากเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็นสำหรับวิสาหกิจชุมชนนี้ เป็นน้ำมันงาที่มีคุณภาพสูง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดไลโอเลอิก อยู่ครบถ้วน ไม่ถูกทำลายเหมือนน้ำมันงาที่สกัดด้วยวิธีทางความร้อนหรือด้วยวิธีการทางเคมี รวมทั้งไม่มีเศษชิ้นส่วนของเมล็ดงา ปะปนเหมือนการสกัดด้วยวิธีการใช้เกลียวอัด (screw press) น้ำมันงาที่สกัดได้จึงมีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของลูกค้าและเหมาะกับการใช้งานทุกประเภท เครื่องสกัดดังกล่าวมีกลไกการทำงานที่ไม่ซับซ้อน
จึงเหมาะกับการใช้งานในวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อย

ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม โปรแกรมเครื่องจักรกลเพื่อการเกษตรและอาหาร โทร.02 564 6700 ต่อ 3420, 3445 (ไชยันต์) e-mail : chaiyan@nstda.or.thchaiyan@nstda.or.th

การพูด จาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/pechburi/marina_wisan/work3.html

 การพูด (Speaking)
             การพูด  มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก  ไม่ว่าจะอยู่  ณ  ที่ใด    ประกอบกิจการงานใด  หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด  ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ  จึงมักพบว่า  ผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระการงาน   การคบหาสมาคมกับผู้อื่น  ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม    ล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้นส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอนและฝึกได้  อาจกล่าวได้ว่า  การพูดเป็น   " ศาสตร ์"  มีหลักการ และกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ถึงขั้นเป็นที่พอใจอีกส่วนหนึ่งเป็นความสารถพิเศษหรือศิลปะเฉพาะตัวของผู้พูดแต่ละบุคคล  บางคนมีความสามารถที่จะตรึงผู้ฟังให้นิ่งอยู่กับที่จิตใจจดจ่ออยู่กับการฟังเรื่องที่พูด  ผู้พูดบางคนสามารถพูดให้คนฟังหัวเราะได้ตลอดเวลา  ศิลปะเฉพาะตัวนี้
            เป็นสิ่งที่ลอกเลียนกันได้ยาก  แต่อาจพัฒนาขึ้นได้ในแต่ละบุคคล  ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตวิธีการที่ดีและมีโอกาสฝึกฝน
                                ประเภทของการพูด   แบ่งได้  2  ประเภท  คือ
                        1.  การพูดระหว่างบุคคล  ได้แก่
      •     การทักทายปราศัย  ลักษณะการทักทายปราศัยที่ดีดังนี้
        • หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย
        • กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น สวัสดีครับ  สวัสดีค่ะ
        • แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร
        • ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ
      •  การแนะนำตนเอง  การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ  ต้องบอกชื่อ   นามสกุล  บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว
      •  การสนทนา   หมายถึง  การพูดคุยกัน  พูดจาเพื่อนสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์   การรับสารที่ง่ายที่สุ  ด    คือ  การสนทนา    
        •  คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี  คือ
          • หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
          • ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย  ๆ  สุภาพ  คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา                                                     
                           2. การพูดในกลุ่ม                                              การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม  แสดงความคิดเห็น  หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน  มีวิธีการดังต่อไปนี้
          •  เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ  ว่ามีอะไรบ้าง
          • ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย
          • น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ   
          • ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม
          • ผู้เล่าเรื่อควรจำเรื่องไดเป็นอย่างดี
          • มีการสรุปข้อคิดในตอนท้าย  
                 การพูด  มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก  ไม่ว่าจะอยู่  ณ  ที่ใด    ประกอบกิจการงานใด  หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด  ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ  จึงมักพบว่า  ผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระการงาน   การคบหาสมาคมกับผู้อื่น  ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม    ล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้นส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอนและฝึกได้  อาจกล่าวได้ว่า  การพูดเป็น   " ศาสตร ์"  มีหลักการ และกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ถึงขั้นเป็นที่พอใจอีกส่วนหนึ่งเป็นความสารถพิเศษหรือศิลปะเฉพาะตัวของผู้พูดแต่ละบุคคล  บางคนมีความสามารถที่จะตรึงผู้ฟังให้นิ่งอยู่กับที่จิตใจจดจ่ออยู่กับการฟังเรื่องที่พูด  ผู้พูดบางคนสามารถพูดให้คนฟังหัวเราะได้ตลอดเวลา  ศิลปะเฉพาะตัวนี้
                เป็นสิ่งที่ลอกเลียนกันได้ยาก  แต่อาจพัฒนาขึ้นได้ในแต่ละบุคคล  ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตวิธีการที่ดีและมีโอกาสฝึกฝน
                                    ประเภทของการพูด   แบ่งได้  2  ประเภท  คือ
                            1.  การพูดระหว่างบุคคล  ได้แก่
        •     การทักทายปราศัย  ลักษณะการทักทายปราศัยที่ดีดังนี้
          • หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย
          • กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น สวัสดีครับ  สวัสดีค่ะ
          • แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร
          • ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ
        •  การแนะนำตนเอง  การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ  ต้องบอกชื่อ   นามสกุล  บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว
        •  การสนทนา   หมายถึง  การพูดคุยกัน  พูดจาเพื่อนสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์   การรับสารที่ง่ายที่สุ  ด    คือ  การสนทนา    
          •  คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี  คือ
            • หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
            • ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย  ๆ  สุภาพ  คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา                                                     
                             2. การพูดในกลุ่ม                                              การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม  แสดงความคิดเห็น  หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน  มีวิธีการดังต่อไปนี้
            •  เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ  ว่ามีอะไรบ้าง
            • ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย
            • น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ   
            • ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม
            • ผู้เล่าเรื่อควรจำเรื่องไดเป็นอย่างดี
            • มีการสรุปข้อคิดในตอนท้าย

      ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จาก http://www.school.net.th/schoolnet/directory/elearning.php


      หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
      o รับข้อมูล เป็นส่วนรับคำสั่งจากผู้ใช้เข้าไปในเครื่อง

      โดยผ่านอุปกรณ์ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น
      o ประมวลผล จะนำคำสั่งที่รับมาจากส่วนรับข้อมูลไปปฏิบัติ
      โดยหน่วยประมวลผลมีชื่อ เรียกว่า ซีพียู
      o แสดงผล เป็นส่วนที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้ใช้
      อุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่นี้ ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เป็นต้น

      ส่วนประกอบภายในของคอมพิวเตอร์
      ภายในตัวเครื่อง หรือที่เรียกว่า เคส ( Case ) จะประกอบด้วย
      o หม้อแปลงไฟฟ้า ( Power Supply ) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้า
      กระแสสลับเป็น ไฟฟ้ากระแสตรง โดยมีพัดลมเพื่อระบายความร้อนในเครื่อง
      o เมนบอร์ด ( Mainboard ) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลัก
      ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายใน
      เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ การ์ดต่างๆ
      o หน่วยประมวลผลกลาง เรียกว่า ซีพียู ( CPU : Central Processing Unit )
      หรือ เรียกว่า โปรเซสเซอร์ ( Processor ) เปรียบเสมือน
      สมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล และควบคุม
      การโอนย้ายข้อมูล ระหว่างส่วนต่างๆ ในเครื่อง
      o หน่วยความจำ หรือที่เรียกว่า แรม ( RAM : Random Access Memory )
      เป็นแหล่งเก็บข้อมูลชั่วคราวที่ถูกนำมาใช้ในการประมวลผล
      o การ์ด ( Card ) เป็นแผลวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ขยาย
      ความสามารถของคอมพิวเตอร์ เช่น การ์ดแสดงผล หรือ Video Card
      ทำหน้าที่นำข้อมูลไปแสดงผลออกทางจอภาพ
      o ฮาร์ดดิสก์ ( Harddisk ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ
      ที่เราต้องการเก็บไว้ โดยขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์
      จะถูกวัดเป็นหน่วยไบต์ เช่น 1 เมกะไบต์
      o เครื่องอ่านเขียนแผ่นดิสก์ ( Floppy Disk Drive )
      ใช้สำหรับอ่านแผ่นดิสก์ ที่สามารถบรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์
      o เครื่องอ่านแผ่นซีดี ( CD - ROM Drive ) ใช้อ่านแผ่น
      ซีดีรอม โดย ซีดีรอม หนึ่งแผ่น สามารถบรรจุข้อมูลได้ 700 เมกะไบต์

      วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

      นวัตกรรมทางการศึกษา


      นวัตกรรมทางการศึกษา  "เพื่อเป็นผลงานทางวิชาการสำหรับครู"
                   นวัตกรรม  หมายถึง  เครื่องมือ  สื่อ  หรือ วิธีการใหม่ๆ  ที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ในทางที่ดีมีคุณภาพ  และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น  ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่  หรือ  ดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น  และนำมาใช้อีก  ก็ถือว่าเป็น "นวัตกรรม"  
                  นวัตกรรมแบบทางการศึกษา  หมายถึง  เครื่องมือ  สื่อ  แนวคิด  วิธีการกระบวนการ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
                ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษา  ตามลักษณะผู้ใช้ประโยชน์จำแนกได้ดังนี้ 

      ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับครูประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับนักเรียน
      - คู่มือครู
      - เอกสารประกอบการสอน
      - ชุดการการสอน
      - สื่อประสมชนิดต่างๆ
      - หนังสืออ้างอิง
      - เครื่องมือวัดผลประเมินผล
      - อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
      - โครงการ
      - วิจัยในชั้นเรียน
      - การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
      - วิธีสอนแบบต่างๆ
                            ฯลฯ
      -  บทเรียนสำเร็จรูป
      - เอกสารประกอบการเรียน
      - ชุดฝึกปฏิบัติ
      - ใบงาน
      - หนังสือเสริมประสบการณ์
      - ชุดเพลง
      - ชุดเกม
      - โครงงาน
                                                    ฯลฯ